การบริหารจัดการความเสี่ยงและการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือวิกฤต
การบริหารจัดการความเสี่ยงและการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือวิกฤต เป็นสิ่งที่เซ็นทรัล รีเทล ให้ความสำคัญ เนื่องจากมีกลุ่มธุรกิจที่หลากหลายอีกทั้งมีการดำเนินธุรกิจอยู่ในต่างประเทศ และเพื่อตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก เซ็นทรัล รีเทล ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร พร้อมทั้งกำหนดให้มีการติดตาม การบรรเทา และการตอบสนองต่อความเสี่ยง นอกจากนี้เซ็นทรัล รีเทล มุ่งมั่นที่จะยกระดับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงให้กับทุกหน่วยธุรกิจ และสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยงให้กับพนักงานทุกระดับ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาโอกาสใหม่ๆ ในการเติบโตของธุรกิจ
ผลกระทบต่อธุรกิจ ผู้มีส่วนได้เสีย และสิทธิมนุษยชน
ด้วยกระบวนการบริหารความเสี่ยงและมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างความตระหนักด้านวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงจะช่วยสนับสนุนให้ เซ็นทรัล รีเทล สามารถลดโอกาสและ/หรือลดความสูญเสียที่อาจส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมสำคัญทางธุรกิจหยุดชะงัก การเกิดข้อพิพาทและประเด็นทางด้านกฎหมาย หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ชีวิตและทรัพย์สิน
กล่าวคือ สามารถสร้างสภาพแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความสามารถในการทำกำไรที่สูงขึ้น และต้นทุนจากการดำเนินงานที่ลดลง โดยการเติบโตอย่างยั่งยืนของ เซ็นทรัล รีเทล ช่วยให้พนักงานรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย คู่ค้าจะมีความมั่นใจต่อ เซ็นทรัล รีเทล ทั้งเรื่องความสามารถในการชำระเงินที่เชื่อถือได้และความสัมพันธ์ที่มั่นคงทางธุรกิจ ลูกค้าจะได้รับความพึงพอใจและความมั่นใจจากสินค้าและการให้บริการที่มีคุณภาพ ชุมชนท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการมีแหล่งรายได้และความมั่นคงทางการเงินอย่างยั่งยืนจากการร่วมงานกับ เซ็นทรัล รีเทล ภาครัฐมีรายได้จากการจ่ายภาษีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนได้รับประโยชน์จากผลตอบแทนที่เหมาะสม พร้อมทั้งจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในทางกลับกัน ผลกระทบจากการบริหารจัดการความเสี่ยงและการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือวิกฤตที่ไม่มีประสิทธิภาพ อาจทำให้การดำเนินธุรกิจของ เซ็นทรัล รีเทล หยุดชะงัก จนส่งผลให้รายได้ลดลง สินค้าคงคลังเสียหาย และต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น
แนวทางการบริหารจัดการ
การกำกับดูแลความเสี่ยง
เซ็นทรัล รีเทล กำหนดให้มีโครงสร้าง บทบาท และหน้าที่่ความรับผิดชอบในกระบวนการบริหารความเสี่่ยงอย่างชัดเจน ดังนี้
- คณะกรรมการนโยบายความเสี่ยง (Risk Policy Committee: RPC) ประกอบด้วยกรรมการอิสระ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Officer: CEO) มีบทบาทในการพิจารณานโยบายการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์ของบริษัทฯ พร้อมทั้งกำกับดูแล สนับสนุน และผลักดันให้เซ็นทรัล รีเทล สามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบายบริหารความเสี่ยงและกรอบมาตรฐานสากล รวมทั้งติดตามและประเมินประสิทธิผลของนโยบายการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนให้คำแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง รวมถึงมอบหมายให้หน่วยงานบริหารความเสี่ยงเป็นตัวแทนในการสื่อสารรายการความเสี่ยงที่สำคัญไปยังคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee: AC) เพื่อพิจารณาถึงความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของเซ็นทรัล รีเทล และบริษัทย่อย
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับบริษัท (CRC Risk Management Committee: CRC RMC) ซึ่งถูกแต่งตั้งโดย RPC โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Officer: CEO) เป็นประธาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการเงิน (Chief Financial Officer: CFO) เป็นรองประธาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายดิจิทัล (Chief Digital Officer: CDO) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหน่วยธุรกิจหลัก และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานนักลงทุนสัมพันธ์และสายงานการจัดการความเสี่ยงเป็นกรรมการ โดย CRC RMC เปรียบเสมือนเป็น 2nd line ตามหลักการ 3 line of defense มีบทบาทในการพิจารณารายการความเสี่ยง กลยุทธ์และกรอบแนวทางในการบริหารความเสี่ยง รวมถึงหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง พิจารณารายงานผลการบริหารความเสี่ยงทั้งระดับองค์กรและระดับหน่วยงาน และกำกับดูแลให้มีการรายงานผลการบริหารความเสี่ยง ต่อ RPC เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- หน่วยงานบริหารความเสี่ยง (Risk Management Unit) ประกอบด้วยผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการบริหารความเสี่ยง เปรียบเสมือนเป็น 2nd line ตามหลักการ 3 line of defense มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการให้มีการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง นอกจากนี้ยังมีบทบาทหน้าที่ในการรวบรวมรายการความเสี่ยงที่สำคัญขององค์กร (Corporate/CRC Risk) ดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicator) แผนบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Mitigation Plan/Risk Management Plan) นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับบริษัท (CRC RMC) ให้ความเห็นชอบและติดตามให้มีการนำผลการบริหารความเสี่ยงมารายงานให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับบริษัท (CRC RMC) และคณะกรรมการนโยบายความเสี่ยง (RPC) ทราบเป็นประจำตามรอบระยะเวลาที่กำหนด หรือ เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- เจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย RMC ประกอบด้วยผู้บริหารจากแต่ละหน่วยธุรกิจ/หน่วยสนับสนุน/ฝ่าย/แผนก/หน่วยงาน เปรียบเสมือนเป็น 1st line ตามหลักการ 3 line of defense มีบทบาทหน้าที่ในการระบุ วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยง พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางการตอบสนองต่อความเสี่ยง ติดตาม และรายงานผลการบริหารความเสี่ยงแก่ Risk Management Working Team
- ฝ่ายตรวจสอบภายใน (Internal Audit Department) ประกอบด้วยผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการตรวจสอบภายในโดยเฉพาะ และเป็นอิสระจากหน่วยธุรกิจอื่นๆ เปรียบเสมือนเป็น 3rd line ตามหลักการ 3 line of defense มีบทบาทหน้าที่ในการประเมินการควบคุมภายในเพื่อให้มั่นใจว่า เซ็นทรัล รีเทล จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบ การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน กระบวนการปฏิบัติงานที่สำคัญ พร้อมทั้งประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงภายใต้ภารกิจและขอบเขตการปฏิบัติงานที่กำหนด รวมถึงรายงานความคืบหน้าในการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายในและสรุปประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำทุกไตรมาสและประจำปี
นโยบายบริหารความเสี่ยง
เซ็นทรัล รีเทล ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องนำระบบการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานสากลมาใช้ในการบริหาร เพื่อให้เซ็นทรัล รีเทล บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้ความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ จึงกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
- กำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นความรับผิดชอบของพนักงานในทุกระดับชั้นที่ต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่มีในการปฏิบัติงานในหน่วยงานของตนและองค์กร โดยให้ความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ ได้รับการบริหารจัดการภายใต้การควบคุมภายในอย่างมีระบบ ให้อยู่ในระดับที่เพียงพอและเหมาะสม
- ให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กรที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ดีตามแนวปฏิบัติสากล เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบกับการดำเนินงานของเซ็นทรัล รีเทล อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการพัฒนาและมีการปฏิบัติงานด้านการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรในทิศทางเดียวกัน โดยนำระบบการบริหารความเสี่ยงมาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ การวางแผนกลยุทธ์ แผนงาน และการดำเนินงานของเซ็นทรัล รีเทล รวมถึงการมุ่งเน้นให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและสร้างความเชื่อมั่นของผู้เกี่ยวข้อง
- มีการกำหนดแนวทางป้องกันและบรรเทาความเสี่ยงจากการดำเนินงานของเซ็นทรัล รีเทล เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย หรือความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการติดตามและประเมินผลการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ
- ส่งเสริมและพัฒนาการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการบริหารความเสี่ยงของเซ็นทรัล รีเทล และสนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารการบริหารความเสี่ยงอย่างทั่วถึง ตลอดจนการจัดระบบการรายงานการบริหารความเสี่ยงให้คณะกรรมการนโยบายความเสี่ยงรับทราบอย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กร (ERM)
เซ็นทรัล รีเทล บริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSO ERM 2017 ที่ใช้แนวทางบูรณาการกระบวนการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร โดยครอบคลุมแนวคิด ดังนี้
การกํากับดูแล และวัฒนธรรม
- จัดทําโครงสร้างและกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการจัดการความเสี่ยง
- สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ตระหนักถึงความเสี่ยง
กลยุทธ์ และ การกําหนดวัตถุประสงค์
- วางแผนกลยุทธ์ที่บูรณาการด้านความเสี่ยง
- พัฒนากลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้
ผลการปฏิบัติงาน
- กําหนดและประเมินระดับความเสี่ยง
- จัดลําดับความสําคัญของผลกระทบและโอกาส
การสอบทาน และการแก้ไขปรับปรุง
- ตรวจสอบผลการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
- ทบทวนการบริหารความเสี่ยงเพื่อแก้ไขและปรับปรุง
สารสนเทศ การสื่อสาร และการรายงาน
- ประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารความเสี่ยง
- จัดทําการสื่อสาร และรายงานเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างเหมาะสม
เซ็นทรัล รีเทล ได้ระบุและประเมินความเสี่ยง รวมถึงความเสี่ยงด้าน ESG ที่เป็นความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจที่กระทบความสามารถในการบรรลุกลยุทธ์ขององค์กร และวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ จึงได้จัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงตั้งแต่ระดับ ต่ำ ปานกลาง และสูง โดยกำหนดเกณฑ์ในด้านผลกระทบ (Impact) และความน่าจะเป็น (Likelihood) โดยในปี 2566 ได้กำหนดไว้ดังนี้
ตารางประเมินระดับความเสี่ยง
ระดับความเสี่ยง | เกณฑ์การประเมินผลกระทบ | เกณฑ์การประเมินโอกาสเกิด |
---|---|---|
ระดับความเสี่ยงสูง (ไม่สามารถยอมรับได้) จําเป็นที่จะต้องบริหารจัดการทันทีและติดตาม รวมถึงรายงานผลการดําเนินการแก่ผู้บริหารระดับสูง |
ผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่บริษัทฯ กําาหนดอยู่ในเกณฑ์สูง |
โอกาสเกิดขึ้นสูง |
ระดับความเสี่ยงปานกลาง (สามารถยอมรับได้) เจ้าของความเสี่ยงจําเป็นที่จะต้องควบคุมและติดตามอย่างสม่ำเสมอ หรือสรรหามาตรการ ควบคุมความเสี่ยงเพิ่มเติมเพื่อลดระดับโอกาส หรือระดับผลกระทบลง |
ผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่บริษัทฯ กําหนดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง |
โอกาสเกิดขึ้นปานกลาง |
Low Risk (Acceptable) ความเสี่ยงถูกควบคุมด้วยมาตรการควบคุมที่มีอยู่อย่างเพียงพอ เจ้าของความเสี่ยงจําเป็นที่จะต้องติดตามประสิทธิผลของการควบคุมและตัวชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicator: KRI) เป็นประจํา |
ผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่บริษัทฯ กําหนดอยู่ในเกณฑ์ต่ำ |
โอกาสเกิดขึ้นต่ำ |
ผลการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง
ในปี 2023 เซ็นทรัล รีเทล ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายความเสี่ยงและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นประจำทุกไตรมาส รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง เพื่อติดตามผลการบริหารความเสี่ยงของเซ็นทรัล รีเทล และในปลายปี 2022 หน่วยงานบริหารความเสี่ยงได้วิเคราะห์รายการความเสี่ยง (Risk Profile) ที่สำคัญ โดยนำวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และเป้าหมายหลักของเซ็นทรัล รีเทล เป็นวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ความเสี่ยง พร้อมทั้งพิจารณาปัจจัยภายในและภายอก บริบททางธุรกิจ สภาพแวดล้อมของธุรกิจ สถานการณ์ทางการเมือง แนวโน้มสภาพเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม กฎหมาย งานวิจัย และบทวิเคราะห์จากองค์กรในระดับนานาชาติ เช่น World Economic Forum, CRO Forum และ Internal Audit Foundation รวมถึงข้อมูลรายการความเสี่ยงที่ได้จากกลุ่มธุรกิจต่างๆ ของเซ็นทรัล รีเทล แล้วจึงนำมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแบบร่าง Risk appetite, Risk tolerance, ดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicators: KRIs) และเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง โดยพิจารณาควบคู่ไปกับข้อมูลเชิงสถิติย้อนหลังที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และ/หรือผลการดำเนินงานที่เคยเกิดขึ้นและส่งผลกระทบโดยตรงต่อทั้งเซ็นทรัล รีเทล เอง หรือกับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียง จากนั้นจึงได้สรุปข้อมูลทั้งหมดและทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้ได้มาซึ่งรายการความเสี่ยงสำคัญ ระดับผลกระทบ (Impact Level) และระดับความน่าจะเป็น (Likelihood Level) ของรายการความเสี่ยงสำคัญจากระดับสูง กลาง และต่ำ, Risk Appetite, Risk Tolerance, KRI, และเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง และนำเสนอต่อ RMC และ RPC ตามลำดับเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ และขออนุมัติในการประกาศใช้ โดยมีการแต่งตั้งให้ Risk Owners ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละความเสี่ยงสำคัญรับผิดชอบในการบริหารจัดการและติดตามอย่างใกล้ชิด ดังตัวอย่างที่แสดงในตาราง
รายการความเสี่ยง | คำอธิบาย | ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงสำคัญ | การบรรเทาความเสี่ยง | ผู้รับผิดชอบ |
---|---|---|---|---|---|
ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์: S1 ความเสี่ยงจากความผันผวนของสภาพเศรษฐกิจระดับมหภาค |
โอกาสที่กำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัว หรือต้นทุนการดำเนินธุรกิจไม่สอดคล้องตามที่บริษัทฯ คาดการณ์ อันเนื่องมาจากความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ จนส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานที่อาจต่ำกว่าระดับที่ยอมรับได้ | เซ็นทรัล รีเทล ยอมรับผลกระทบที่เกิดจากความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจได้ไม่เกิน 5% ของเป้าหมายทางการเงิน |
|
|
|
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน: O1 ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง |
แนวโน้มที่ประสิทธิภาพของการบริหารสินค้าคงคลังไม่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงิน และความสามารถในการขายและจัดส่งสินค้า จนนำไปสู่ผลกระทบด้านความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ขององค์กร | เซ็นทรัล รีเทล ยอมรับผลกระทบที่เกิดจากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารสินค้าคงคลังได้ไม่เกิน 5% ของเป้าหมาย |
|
|
|
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ: C2 ความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชัน * |
ความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต คอร์รัปชั่น หรือใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตน อันอาจเป็นเหตุให้ เซ็นทรัล รีเทล มีโอกาสได้รับผลกระทบทางกฎหมาย การเงิน ชื่อเสียง หรือความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมสำคัญทางธุรกิจ | เซ็นทรัล รีเทล ไม่ยอมรับความเสี่ยงใดๆ ที่อาจนำไปสู่การทุจริต คอร์รัปชัน และการละเมิดกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี |
|
|
|
หมายเหตุ: * เซ็นทรัล รีเทล กำหนดให้มีเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชันโดยเฉพาะ ซึ่งได้กำหนดระดับโอกาสในการเกิดและระดับผลกระทบที่ยอมรับได้ไว้ในระดับต่ำมาก จึงทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวมีความอ่อนไหวกว่าความเสี่ยงรายการอื่น จึงส่งผลให้ระดับความเสี่ยงปรากฎอยู่ในระดับกลาง (สีเหลือง) หรือระดับสูง (สีแดง) บ่อยครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการป้องกัน ติดตาม และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
วัฒนธรรมความเสี่ยง
เซ็นทรัล รีเทล มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ครอบคลุมบุคลากรที่สำคัญของเซ็นทรัล รีเทล ดังนี้
- ระดับกรรมการและผู้บริหารระดับสูง: มีการเชิญวิทยากรจากสถาบันต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารความเสี่ยง มาบรรยายพิเศษเพื่อร่วมแบ่งปันข้อมูล และแนวโน้มความเสี่ยงที่สำคัญ เพื่อเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการของเซ็นทรัล รีเทล
-
ระดับพนักงาน: จัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ทั้งในรูปแบบ On-site และ Online (E-learning) ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงเบื้องต้น เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงให้แก่พนักงานทุกระดับ เช่น
-
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน: เซ็นทรัล รีเทล ได้มีการอบรมด้านความปลอดภัยและเหตุฉุกเฉิน โดยมีพนักงานเข้าอบรมครบถ้วนคิดเป็นร้อยละร้อย (100%) ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Sustainability Report หน้า 83
อ่านเพิ่มเติม -
การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (Anti-Corruption): เซ็นทรัล รีเทล ได้มีการอบรมในหัวข้อการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยมีผู้เข้าอบรมประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัทฯ คิดเป็นร้อยละร้อย (100%) ผู้บริหารระดับสูงคิดเป็นร้อยละเจ็ดสิบสอง (72%) และพนักงานคิดเป็นร้อยละเก้าสิบเอ็ด (91%) ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เอกสาร Central Retail Elevation Excellence Sustainable Future Performance Data 2023 หน้า 4
อ่านเพิ่มเติม
-
นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังได้กำหนดให้ผลการบริหารความเสี่ยงเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (Key Performance Indicator: KPI) ประจำปีให้แก่พนักงานและผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับผิดชอบต่องานด้านการบริหารความเสี่ยง เช่น มีการริเริ่มนำผลการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและอาชีวอานามัย (Health & Safety Risk) มาประยุกต์ใช้เป็นหนึ่งใน KPI ของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (Occupational Safety, Health and Work Environment Committee: OHS) ในบางหน่วยธุรกิจ ไม่เพียงเท่านั้น เซ็นทรัล รีเทล ยังให้ความสำคัญกับปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบธุรกิจและการให้บริการใหม่ๆ หรือการนำอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ร่วมกับการดำเนินธุรกิจของเซ็นทรัล รีเทล เช่น ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจากการปรับปรุงหรือการรีโนเวทสาขา ความเสี่ยงจากการที่หน่วยธุรกิจไม่สามารถขยายสาขาได้ตามเป้าหมายทางธุรกิจ ความเสี่ยงจากการพัฒนาธุรกิจใหม่ (New Business Model) โดยเซ็นทรัล รีเทล ได้มีการกำหนดกรอบและแนวทางการบริหารความเสี่ยงโครงการและมีการกำหนด New Business Checklist เพื่อให้ธุรกิจใหม่ (New Business Model) เช่น Tops Care, Tops vita, Pet & Me ใช้เป็นแนวทางในการบริหารความเสี่ยง
โครงการสำคัญ
ฝึกอบรมหลักสูตร GRC (การกำกับดูแล ความเสี่ยง และการปฏิบัติตามข้อกำหนด) ให้แก่คณะกรรมการบริษัทฯ และผู้บริหาร
ในปี 2566 เซ็นทรัล รีเทล ได้จัดอบรมให้กับคณะกรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการและการประยุกต์ใช้ GRC โดยมีบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำ เป็นผู้บรรยาย ให้ความรู้ แบ่งปันความเชี่ยวชาญ
การฝึกอบรมการบริหารความเสี่ยง
ในปี 2566 เซ็นทรัล รีเทล ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยงให้แก่ Risk Management Working Team ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ Risk Management Working Team สามารถระบุ วิเคราะห์ ประเมิน และวางแผนบริหารความเสี่ยงได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามกรอบมาตรฐานสากลของการบริหารความเสี่ยง
คู่มือการบริหารความเสี่ยง
เซ็นทรัล รีเทล ได้เปิดตัวคู่มือการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้พนักงานมีความรู้และทักษะในการระบุ ประเมิน และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในบทบาทหน้าที่ของพนักงาน คู่มือการบริหารความเสี่ยงสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกผ่านระบบอินทราเน็ต และสื่อสารไปยังหน่วยงานที่ขับเคลื่อนการบริหารความเสี่ยง รวมถึง คณะกรรมการนโยบายความเสี่ยง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ผู้ดูแลการบริหารความเสี่ยงประจำหน่วยงาน/หน่วยธุรกิจ และเจ้าของความเสี่ยง
ความเสี่ยงอุบัติใหม่
เซ็นทรัล รีเทล มีการระบุและประเมินความเสี่ยงอุบัติใหม่ หรือความเสี่ยงที่ปัจจุบันมีผลกระทบระดับต่ำแต่อาจส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยระบุให้ความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤตค่าครองชีพและความเสี่ยงที่เกิดจากการก่อการร้ายเป็นความเสี่ยงอุบัติใหม่ที่มีนัยสำคัญต่อ เซ็นทรัล รีเทล ซึ่งสอดคล้องกับ World Economic Forum Global Risks Report 2023 ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบอันอาจเกิดจากความเสี่ยงอุบัติใหม่ข้างต้น เซ็นทรัล รีเทล จึงให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผลกระดับ โดยมีรายละเอียดดังตาราง
ความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤตค่าครองชีพ
ประเภท | ด้านสังคม |
---|---|
คำอธิบาย |
วิกฤตค่าครองชีพเป็นหนึ่งในสิบรายการความเสี่ยงสำคัญระดับโลก โดยมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในระหว่าง 2 ถึง 3 ปีข้างหน้า ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจระมัดระวังเรื่องค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน ต้นทุนสินค้า และบริการอาจส่งผลให้เกิดการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อปัญหาหนี้ครัวเรือนและนโยบายการตอบสนองของรัฐบาล อ้างอิง: https://www3.weforum.org/docs/WEF_Global_Risks_Report_2023.pdf |
ผลกระทบ |
การเพิ่มขึ้นของต้นทุนสินค้าและบริการ ไม่เพียงแต่จะทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานของ เซ็นทรัล รีเทล เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อค่าครองชีพ ซึ่งไม่สัมพันธ์กับรายได้ครัวเรือนและสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา โดยอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังกำลังซื้อของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันคู่แข่งชอง เซ็นทรัล รีเทล กลับมีจำนวนมากขึ้นทั้งในรูปแบบร้านค้าปลีกออนไลน์และร้านค้าปลีกรายย่อย ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้สามารถส่งผลกระทบทางตรงต่อยอดขายและกำไรของเซ็นทรัล รีเทล ในระยะสั้น เซ็นทรัล รีเทล อาจได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ แต่รายละเอียดและเงื่อนไขบางประการของนโยบายภาครัฐก็อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อเซ็นทรัล รีเทล ในระยะสั้น นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ อาจส่งผลกระทบเชิงบวกให้กับธุรกิจค้าปลีกได้ แต่รายละเอียดเงื่อนไขบางอย่างอาจเป็นอุปสรรคต่อสิทธิประโยชน์ต่อธุรกิจ |
ช่วงระยะเวลา | 2557 - 2559 |
มาตรการตอบสนองต่อความเสี่ยง |
|
ความเสี่ยงที่เกิดจากการก่อการร้าย
ประเภท | Geopolitical |
---|---|
คำอธิบาย |
จากการสำรวจ Global Terrorism Index (GTI) ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นผลการสำรวจการก่อการร้ายใน 163 ประเทศที่จัดทำโดยสถาบันเศรษฐกิจและสันติภาพ (IEP) พบว่า GTI ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 26 ของโลก เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 4 อันดับ บ่งชี้ว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายมากขึ้น อ้างอิง: https://www.visionofhumanity.org/maps/global-terrorism-index/#/ |
ผลกระทบ |
จากดัชนี GTI แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีแนวโน้มความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายที่สูงขึ้น ที่ปรากฏในหลายรูปแบบ อย่างเช่น ความเครียดและพฤติกรรมรุนแรงในที่สาธารณะที่บ่อยมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์กราดยิงเกิดขึ้นที่ห้างสรรพสินค้าในใจกลางกรุงเทพฯ เมื่อเดือนตุลาคม 2566 เหตุการณ์ก่อการร้ายดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และอาจส่งผลเสียต่อห้างสรรพสินค้าและชื่อเสียง หากไม่สามารถปฎิบัติมาตรการตอบสนองได้ทันและรวดเร็ว อีกทั้งส่งผลต่อความมั่นใจและประสบการณ์การช้อปปิ้งของลูกค้า เพราะรู้สึกหวาดกลัวและไม่มั่นคง นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังมีห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในทำเลใจกลางเมืองซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เหตุการณ์การก่อการร้าย อาจทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ลดลงและส่งผลให้ยอดขายและรายได้ของ เซ็นทรัล รีเทล |
ช่วงระยะเวลา | 2557 - 2559 |
มาตรการตอบสนองต่อความเสี่ยง |
|