การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

เซ็นทรัล รีเทล ประเมินความเสี่ยงในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานตามแนวทางจรรยาบรรณคู่ค้า ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านการกำกับดูแล เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนและประสิทธิภาพในการปฏิบัติการ บริษัทฯ จึงเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ผ่านการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นนํ้า โดยบริษัทฯ ได้กำหนดให้คู่ค้าทุกรายต้องปฏิบัติตามข้อผูกมัดในสัญญาทางการค้าต่างๆ และจรรยาบรรณคู่ค้า รวมถึงสนับสนุนให้คู่ค้าบูรณาการแนวทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) ให้เข้ากับการดำเนินธุรกิจ

เป้าหมาย

100% of Suppliers Acknowledge Supplier Code of Conduct
50% of Significant Suppliers Trained on ESG Programs in 2030

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผู้มีส่วนได้เสีย และสิทธิมนุษยชน

เซ็นทรัล รีเทล มีระบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้แน่ใจว่าผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายจะได้รับประโยชน์และคุณค่าอย่างเป็นธรรม โดยบริษัทฯ ได้มีการกำกับดูแล สนับสนุน และสร้างความมั่นใจกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานว่าให้คนกลุ่มนี้สามารถบูรณาการหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) เข้ากับการดำเนินธุรกิจของเขาได้ โดยสิ่งนี้จะส่งผลให้พนักงานและคู่ค้าของเซ็นทรัล รีเทล มีความเป็นอยู่ที่ดี มีสภาพการทำงานที่ดีและปลอดภัย เช่น มีจำนวนชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม มีจำนวนวันหยุดที่เหมาะสม โดยสรุปแล้ว การส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในที่ทำงานจะยิ่งทำให้ภาพรวมของสภาพแวดล้อมการทำงานดีขึ้นสำหรับทุกคน

ความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสและมีจริยธรรม ทำให้เซ็นทรัล รีเทล ได้รับความเชื่อมั่นจากคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ด้วยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการคัดเลือกคู่ค้าอย่างยั่งยืน ซึ่งช่วยสร้างความพึงพอใจของลูกค้าและความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์และบริการของเซ็นทรัล รีเทล ให้มากขึ้น อันจะทำให้ลูกค้ามีความภักดีต่อแบรนด์มากขึ้น ทั้งนี้ การพัฒนาสังคมและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการขยะ การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคนในชุมชนและสังคมได้ นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนตํ่า เช่น การใช้รถบรรทุกไฟฟ้าหรือพลังงานทดแทนในการขนส่ง นอกจากนี้ การส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมยังช่วยให้เซ็นทรัล รีเทล เลี่ยงการเข้าไปเกี่ยวข้องกับคอร์รัปชันหรือการติดสินบน ซึ่งอาจนำไปสู่การหมิ่นประมาทหรือทำลายความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ได้ โดยสรุปแล้วห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนจะช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับบริษัทฯ รวมถึงผลตอบแทนที่สูงขึ้นแก่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน

แนวทางการบริหารจัดการ

เซ็นทรัล รีเทล มีการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนผ่านกลยุทธ์สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ความมุ่งมั่นในการยึดเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง การจัดหาสินค้าที่มีคุณภาพและหลากหลาย และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยเซ็นทรัล รีเทล ได้สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างความตระหนักในเรื่องความยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนในส่วนของผู้มีส่วนได้เสียเช่นกัน

การมุ่งเน้นให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทำความเข้าใจลูกค้าเพื่อสร้างโอกาสในการนำเสนอสินค้าที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
คุณภาพและความหลากหลายของสินค้า คัดสรรสินค้าที่มีคุณภาพและราคาเหมาะสมเพื่อยกระดับคุณค่าสู่ระดับสูงสุด
การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน พิจารณาถึงผลกระทบของสินค้าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เซ็นทรัล รีเทล สนับสนุนคู่ค้าให้พัฒนาด้านความยั่งยืนแรกเริ่มด้วยการกำหนดให้คู่ค้าปฏิบัติตามหลักการขั้นพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ของคู่ค้าผ่านการอบรมให้ความรู้และแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยเน้นให้สอดคล้องกับบริบทของคู่ค้าแต่ละราย นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล จะช่วยบูรณาการแนวคิดด้านความยั่งยืนสู่การดำเนินธุรกิจของคู่ค้าอีกด้วย

ระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนของเซ็นทรัล รีเทล

เซ็นทรัล รีเทล ได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางให้พนักงาน ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง และคู่ค้าสามารถปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามมาตรฐานด้านความยั่งยืนที่สูง บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยมีประธานซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของเซ็นทรัล รีเทล และยังประกอบไปด้วยผู้อำนวยการด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นพนักงานระดับบริหาร และพนักงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของแต่ละหน่วยธุรกิจ เพื่อกำกับดูแลระบบและแนวปฏิบัติด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้นำหลักจรรยาบรรณคู่ค้ามากำหนดไว้ในการทำสัญญาและข้อตกลงเงื่อนไขทางการค้า เพื่อให้แน่ใจว่าคู่ค้าทุกรายจะปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณดังกล่าว รวมทั้งมีการทบทวนแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักจรรยาบรรณคู่ค้าอย่างสมํ่าเสมอและป้องกันการละเมิดข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ

ระบบการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนเริ่มต้นด้วยกระบวนการคัดเลือกคู่ค้าและกระบวนการคัดกรอง โดยสร้างเมทริกซ์เพื่อคัดกรองคู่ค้า (Supplier Screening Matrix) และสร้างรายการเฝ้าระวังความเสี่ยง (CRC ESG Watchlist) หลังจากที่คู่ค้าจำนวนหนึ่งได้รับการระบุตัวตนแล้ว ก็จะได้รับการประเมินความเสี่ยงอย่างครอบคลุมทั้งทางเอกสารและการสำรวจพื้นที่จริงของคู่ค้า เพื่อวางแผนและแนวทางแก้ไขอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังได้พัฒนาการฝึกอบรมเชิงลึกด้าน ESG สำหรับพนักงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการตั้งมาตรฐานด้าน ESG สำหรับคู่ค้า เพื่อใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้าน ESGของคู่ค้ากับคู่ค้าอื่นๆ ในวงใกล้เคียงกัน ซึ่งจะช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนให้คู่ค้าปรับปรุงแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนของตนเองต่อไป

การคัดกรองคู่ค้า การประเมินความเสี่ยง และการพัฒนาคู่ค้า

เซ็นทรัล รีเทล จัดทำกระบวนการระบุและประเมินความเสี่ยงหรือความท้าทายด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน โดยกระบวนการดังกล่าวประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การคัดเลือกและคัดกรองคู่ค้า 2) การประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า 3) แผนและแนวทางแก้ไข และ 4) การพัฒนาศักยภาพคู่ค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนให้คู่ค้าลำดับ 1 (Tier-1) ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ก่อนที่จะขยายผลให้ครอบคลุมคู่ค้ารายอื่น ๆ ทั้งหมดต่อไป

1. การคัดเลือกและคัดกรองคู่ค้า

คู่ค้ารายใหม่และรายปัจจุบันทั้งหมดจะต้องรับทราบและปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณคู่ค้าของเซ็นทรัล รีเทล ซึ่งเป็นข้อกำหนดขั้นตํ่าด้าน ESG คู่ค้าที่ไม่สามารถปฏิบัติตามนี้ได้ในระยะเวลา 3 ปีอาจจะต้องถูกยกเลิกสัญญา

นอกจากนี้ คู่ค้ารายใหม่และรายปัจจุบันทั้งหมดจะต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกคู่ค้า โดยจะต้องตอบแบบประเมินตนเอง (SAQ) เพื่อแสดงว่าคู่ค้ามีแนวทางปฏิบัติและกระบวนการในการจัดการด้าน ESG ที่สอดคล้องกับหลักจรรยาบรรณคู่ค้าของเซ็นทรัล รีเทล หรือไม่ ทั้งนี้ คะแนนจากการประเมิณ SAQ ถือเป็นเกณฑ์ด้าน ESG ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15 ของคะแนนทั้งหมด ส่วนเกณฑ์ด้านธุรกิจ (เช่น รายการตรวจสอบโรงงาน การประเมินประสิทธิภาพ ฯลฯ) คิดเป็นร้อยละ 85 ของคะแนนทั้งหมด คู่ค้าที่มีแนวทางปฏิบัติและกระบวนการในการจัดการด้าน ESG ที่ดีจะได้คะแนน SAQ สูงกว่าและทำให้มีโอกาสสูงกว่าในการได้รับเลือกเป็นคู่ค้า โดยหลังจากประเมินหลักเกณฑ์ทั้ง ESG และธุรกิจแล้ว ในที่สุดคู่ค้าที่ตรงเกณฑ์จะได้รับการคัดเลือกและเพิ่มชื่อลงในทะเบียนผู้ค้า (AVL) และจะเซ็นสัญญากับเซ็นทรัล รีเทล ทั้งนี้ การปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณคู่ค้า การประเมินตนเองของคู่ค้า และกระบวนการคัดเลือกคู่ค้าจะดำเนินการเป็นประจำทุกปี โดยคู่ค้าก็จะต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงคู่ค้าอย่างเข้มข้นมากขึ้น

เมื่อคู่ค้าได้เซ็นสัญญาและเป็นถูกเพิ่มในทะเบียนผู้ค้าแล้ว คู่ค้าทุกรายจะต้องผ่านกระบวนการคัดกรองคู่ค้าเพื่อระบุหาคู่ค้ารายสำคัญ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ให้คำจำกัดความ “คู่ค้ารายสำคัญ” ไว้ว่าเป็นผู้ที่มีธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับบริษัทฯ แต่อาจมีความเสี่ยงสำคัญบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในด้านประเทศที่ตั้ง ประเภทอุตสาหกรรม และประเภทสินค้า

เซ็นทรัล รีเทล ได้จัดทำเมทริกซ์การคัดกรองคู่ค้า (Supplier Screening Matrix) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างใช้ เพื่อประเมินคู่ค้าทั้งรายปัจจุบันและคนที่มีโอกาสได้เป็นคู่ค้าในแง่ความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน และคัดกรองคู่ค้ารายสำคัญ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. เกณฑ์ด้านธุรกิจ ได้แก่ ยอดซื้อสินค้าทั้งหมดของเซ็นทรัล รีเทล การผลิตสินค้าที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ คู่ค้าที่ไม่สามารถหาทดแทนได้ ฯลฯ ทั้งนี้ เกณฑ์ด้านธุรกิจจะช่วยระบุว่าคู่ค้ารายใดที่จะสร้างมูลค่าทางธุรกิจสูงให้กับเซ็นทรัล รีเทล
  2. เกณฑ์ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ

    • เกณฑ์ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ประเทศที่ตั้งของคู่ค้า หมวดอุตสาหกรรรม หมวดสินค้า ฯลฯ
    • จัดตั้งรายการเฝ้าระวังความเสี่ยง ของเซ็นทรัล รีเทล (CRC ESG Watchlist) เพื่อรวบรวมเกณฑ์ด้าน ESG ตามประเทศที่ตั้งของคู่ค้า หมวดอุตสาหกรรรม และหมวดสินค้า ที่สามารถใช้ในการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าแต่ละรายได้ โดยต้องมีการปรับเปลี่ยนรายการเฝ้าระวังความเสี่ยง ของเซ็นทรัล รีเทล ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในภาคธุรกิจและสถานการณ์โลก

นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังวิเคราะห์ข้อมูลจากภายนอกผ่านการรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนต่อคู่ค้า (Social listening) ในขณะที่ข้อความต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ก็จะได้รับการตรวจสอบเพื่อนำมาวิเคราะห์เสียงตอบรับของสาธารณชนกับคู่ค้าแต่ละราย โดยการรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนต่อคู่ค้านี้จะช่วยให้บริษัทฯ ทบทวนผลการประเมินและคัดกรองคู่ค้าของบริษัทฯ อีกครั้ง รวมถึงได้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อร้องเรียนหรือการละเมิดจรรยาบรรณคู่ค้า หรือกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหากมีเหตุขึ้น เมื่อนำเอาข้อมูลส่วนนี้มาพิจารณาร่วมกับเกณฑ์ด้านธุรกิจและเกณฑ์บริหารจัดการความเสี่ยงด้าน ESG ในห่วงโซ่อุปทาน ของเซ็นทรัล รีเทล ก็จะสามารถจัดประเภทคู่ค้ารายสำคัญของเซ็นทรัล รีเทล ได้

2. การประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า

หลังจากกระบวนการคัดกรองคู่ค้า คู่ค้าที่ถูกระบุว่าเป็นคู่ค้ารายสำคัญ จะต้องผ่านกระบวนการประเมินคู่ค้าด้วยเอกสาร ซึ่งเซ็นทรัล รีเทล กำหนดให้ต้องส่งข้อมูลและหลักฐานเพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลอย่างเป็นระบบ ตัวอย่างเช่น คู่ค้าจะต้องส่งหลักฐานนโยบายและระบบการจัดการที่เกี่ยวข้องกับ ESG (เช่น ใบรับรองการดำเนินงานที่ยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม, ISO 14001, ISO 45001 เป็นต้น) และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับ ESG ในอดีตและปัจจุบันเพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการดำเนินงาน การประเมินคู่ค้าอย่างเป็นระบบนี้จะช่วยให้เซ็นทรัล รีเทล สามารถกำหนดและจัดลำดับความสำคัญของคู่ค้ารายสำคัญตามระดับความเสี่ยงสูง ปานกลาง และตํ่าได้อย่างเป็นระบบ คู่ค้ารายสำคัญที่มีความเสี่ยงปานกลางและตํ่าถือว่าผ่านการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า

ในกรณีที่คู่ค้ารายสำคัญมีความเสี่ยงสูง พนักงานของเซ็นทรัล รีเทล หรือหน่วยงานภายนอกจะเข้าสำรวจพื้นที่และประเมินคู่ค้าอย่างละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้เซ็นทรัล รีเทล และคู่ค้าเข้าใจสถานการณ์และสาเหตุของความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น หากคู่ค้าไม่สามารถจัดการข้อกังวลหรือจัดทำมาตรการที่จะลดความเสี่ยงลงสู่ระดับกลางหรือตํ่าได้ภายใน 3 ปี คู่ค้าจะไม่ได้รับการต่อสัญญาจากเซ็นทรัล รีเทล และจะถูกถอดออกจากทะเบียนผู้ค้าของเซ็นทรัล รีเทล

3. แผนและแนวทางแก้ไข

ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลเกี่ยวกับต้นเหตุของประเด็นความเสี่ยงสูงต่างๆ ที่ได้จากการประเมินคู่ค้าที่สถานประกอบการจะช่วยกำหนดแผนและแนวทางแก้ไข เพื่อการเยียวยา การป้องกัน และการลดผลกระทบจากความเสี่ยงสูงต่อคู่ค้าสำคัญ ทั้งนี้ แผนและแนวทางแก้ไขจะระบุสิ่งที่ต้องทำ ระยะเวลา และความรับผิดชอบต่างๆ ในการจัดการประเด็นความเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยงและเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้น

เมื่อเซ็นทรัล รีเทล อนุมัติแผนและแนวทางแก้ไขแล้ว คู่ค้ามีหน้าที่ต้องจัดการปัญหาดังกล่าวให้ได้ภายใน 3 ปี ก่อนที่จะมีการประเมินซํ้า หากผลประเมินครั้งใหม่พบว่าความเสี่ยงลดลงจากระดับสูงสู่ระดับกลางหรือตํ่า บริษัทฯ จะขึ้นทะเบียนคู่ค้าใน “ทะเบียนผู้ค้า” แต่หากคู่ค้ายังไม่สามารถทำตามแผนแนวทางแก้ไขหรือปรับตัวตามเกณฑ์ขั้นตํ่าด้าน ESG ภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ คู่ค้าจะไม่ได้ต่อสัญญากับเซ็นทรัล รีเทล อีก

4. การพัฒนาศักยภาพคู่ค้า

การเติบโตไปพร้อมกับคู่ค้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ หนึ่งในกลยุทธ์หลักของเซ็นทรัล รีเทล ฯ ในการพัฒนาศักยภาพสูงสุดให้คู่ค้า คือ การจัดอบรมเพื่อให้คู่ค้าสามารถปรับการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ รวมถึงเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียและคู่ค้าในห่วงโซ่คุณค่า

นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังจัดให้มีเกณฑ์มาตรฐาน ESG แก่คู่ค้าตามกลุ่มความเสี่ยงสูง ปานกลาง และตํ่า และยังเปิดเผยรายชื่อคู่ค้าที่ดำเนินโครงการ ESG เช่น โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและพลังงาน การต่อต้านการทุจริต การปกป้องข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เป็นต้น แนวทางนี้เป็นการบริหารจัดการแบบองค์รวมในการดำเนินงานด้าน ESG กับคู่ค้า ที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน ช่วยในการติดตามความคืบหน้า และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนกับคนกลุ่มกว้างมากยิ่งขึ้น

เซ็นทรัล รีเทล ยังคงเฝ้าติดตามดูและจัดการสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในระบบห่วงโซ่อุปทาน กำหนดเป้าหมายและเป้าในการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน และแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดให้กับคู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียอยู่เสมอ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับคู่ค้า ปรับปรุงประสิทธิภาพด้านความยั่งยืน และบรรลุเป้าหมายระยะยาวของบริษัทฯ

โครงการสำคัญ

ในปีที่ผ่านมา เซ็นทรัล รีเทล ในส่วนของฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างได้มีส่วนร่วมในการบูรณาการงานด้าน ESG และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างองค์กรอย่างแข็งขันกับคู่ค้าและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เช่น พนักงาน นักลงทุน ลูกค้า และชุมชน โดยกิจกรรมต่าง ๆ ได้รับการเผยแพร่ผ่านทั้งเว็บไซต์และรายงานความยั่งยืนของเซ็นทรัล รีเทล

ค่ายอบรมเชิงกลยุทธ์: เสริมศักยภาพงานด้านความยั่งยืน

ในปี 2566 เซ็นทรัล รีเทล จัดค่ายอบรมเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานและผลกระทบของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อความยั่งยืนในกลุ่มพนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวช่วยเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้มีความรู้ ทักษะ และแรงกระตุ้นเพื่อบูรณาการงานด้านความยั่งยืนเข้าไปในงานของตนเอง ทั้งนี้ การอบรมเน้นแสดงให้เห็นว่าการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนและการดำเนินงานได้จริง หัวข้ออบรมครอบคลุมถึงเรื่องการบริหารจัดการพลังงาน เศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดจนการคัดกรองและคัดเลือกคู่ค้า มีพนักงานเข้าร่วมอบรมจำนวน 110 คนและได้รับความรู้ความเข้าใจด้านการบูรณาการและดำเนินโครงการด้าน ESG ในกระบวนการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

โครงการเซ็นทรัล รีเทล โลจิสติกส์ เพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

เซ็นทรัล รีเทล จัดทำโครงการเซ็นทรัล รีเทล โลจิสติกส์ เพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับคู่ค้า ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีและกระตุ้นให้คู่ค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมบูรณาการงานด้านความยั่งยืนเข้าสู่กระบวนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการจัดซื้อ จัดเก็บสินค้า จัดจำหน่าย ขนส่ง และการบริการลูกค้า โครงการนี้มีคู่ค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าร่วมทั้งสิ้น 135 คน ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้พื้นฐาน เรียนรู้ทักษะและเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็น รวมถึงรับฟังกรณีศึกษาของการปฏิบัติที่ดี เพื่อนำไปปรับให้การดำเนินงานของกิจการสอดคล้องกับมาตรฐานด้านความยั่งยืนของเซ็นทรัล รีเทล