Journey to Zero: ปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
การขาดแคลนทรัพยากรและความยั่งยืนเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังให้ความตระหนักเป็นอย่างยิ่ง การจัดการกับการสูญเสียอาหารและขยะอาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถึงแม้จะมีการขาดแคลนอาหารเป็นวงกว้างแต่ก็ยังมีอาหารปริมาณมหาศาลที่ถูกทิ้งในแต่ละวัน จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการกับความท้าทายที่สำคัญระดับโลกนี้ เซ็นทรัล รีเทล เข้าใจถึงผลกระทบในวงกว้างของการสูญเสียอาหารและขยะอาหารที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และความมั่นคงทางอาหาร ความมุ่งมั่นในการลดขยะอาหารจึงเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างรับผิดชอบ และสนับสนุนความเท่าเทียม และความยั่งยืนในอนาคตสำหรับทุกคน
เซ็นทรัล รีเทล ใช้โมเดล Zero Waste เพื่อลดปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารให้ครอบคลุมตลอดการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างเป็นระบบ โดยพนักงานจะได้รับการฝึกอบรมให้มีการคัดแยกขยะอาหารออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ เพื่อให้สามารถจัดการขยะดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
- ขยะที่บริโภคได้ โดยขยะเหล่านี้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่เป็นอาหารสัตว์ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และเพิ่มการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ขยะที่ไม่สามารถบริโภคได้ โดยขยะเหล่านี้จะถูกแปรรูปเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสำหรับชุมชนท้องถิ่น เช่น ปุ๋ยหมัก และก๊าซหุงต้ม
แนวทางดังกล่าวจะช่วยลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารให้เหลือน้อยที่สุด และมีส่วนช่วยในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ


นอกจากนี้ ในธุรกิจค้าปลีก อาหารจำนวนมากที่ใกล้จะถึงวันที่ 'ควรบริโภคก่อน' จะไม่สามารถขายได้และจะต้องทิ้งเป็นขยะอาหารในขั้นตอนการจัดการสินค้า ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียรายได้และขาดประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากร เพื่อแก้ไขปัญหานี้ เซ็นทรัล รีเทล ได้พัฒนาระบบรวบรวมและติดตามข้อมูลอาหารที่ใกล้ถึงวันที่ควรบริโภคก่อน เพื่อให้สามารถจัดการกับอาหารเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งร่วมมือกับพันธมิตรในการนำอาหารเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทางเลือกต่าง ๆ ต่อไป
โดยบริษัทในเครือ ได้แก่ Tops และ Tops Daily ได้คัดแยกอาหารที่ใกล้จะถึงวันที่ควรบริโภคก่อนประกอบด้วยผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ผลไม้ ผัก อาหารพร้อมรับประทาน และวัตถุดิบสดใหม่อื่น ๆ ใส่ในถุง แทนที่จะทิ้ง โดยถุงเหล่านี้จะนำมาขายผ่านความร่วมมือกับแพลตฟอร์มจัดส่งอาหารออนไลน์ที่เชี่ยวชาญต่อการจัดการอาหารเหล่านี้ โดยลูกค้าสามารถซื้อถุงเหล่านี้ได้ในราคาประหยัด (ต่ำกว่าราคาขายปลีกปกติร้อยละ 50) ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์และมารับได้ Tops และ Tops Daily สาขาต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ แนวทางนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดขยะอาหาร แต่ยังช่วยให้ลูกค้าและครอบครัวที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพได้ โดยในปี 2566 เซ็นทรัล รีเทล สามารถลดขยะอาหารได้ 1,525.7 ตัน ซึ่งมีแผนขยายแนวทางนี้ไปยังทั่วประเทศในอนาคต


การนำโมเดล Zero Waste มาใช้อย่างครอบคลุมการดำเนินงานทั้งหมดของเซ็นทรัล รีเทล แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร รวมทั้งการฝึกอบรมพนักงานในการคัดแยกและนำอาหารกลับมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นผ่านการนำทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ต่อ เช่น ปุ๋ยหมัก และก๊าซหุงต้ม โมเดลนี้จึงเป็นตัวอย่างของแนวทางในการจัดการทรัพยากร การเปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากรที่เป็นประโยชน์ และการสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน