ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยก

เซ็นทรัล รีเทล ส่งเสริมความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยก (Diversity, Equity, and Inclusion: DE&I) ด้วยการปลูกฝังไว้ในวัฒนธรรมและกลยุทธ์ขององค์กร โดยมุ่งมั่นส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่แบ่งแยก สร้างเสริมความเป็นอยู่ที่ดี และการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงาน ทั้งในกลุ่มพนักงานและคู่ค้า เซ็นทรัล รีเทล ให้คำมั่นที่จะต่อต้านการเลือกปฏิบัติ การล่วงละเมิดทางเพศ และการคุกคามในทุกรูปแบบ หากตรวจพบกรณีดังกล่าว เซ็นทรัล รีเทล จะดำเนินการทางวินัยอย่างเข้มงวดและกำหนดมาตรการแก้ไขและเยียวยากรณีที่เกิดผลกระทบใดๆ อย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ เซ็นทรัล รีเทล ได้จัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมคุณค่าของพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมทั้งยังมุ่งนำเสนอสินค้าและบริการที่บูรณาการคุณค่าแห่งความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยกให้แก่ลูกค้าในวงกว้างอีกด้วย

เป้าหมาย

50%

ของพนักงานระดับผู้บริหารเป็นผู้หญิง

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผู้มีส่วนได้เสีย และสิทธิมนุษยชน

วัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยก สามารถเปิดมุมมองและแนวคิดใหม่ ๆที่ต่อยอดโอกาสทางธุรกิจให้แก่เซ็นทรัล รีเทล โดยจะช่วยให้เซ็นทรัล รีเทล เข้าใจกลุ่มลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียที่มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การใส่ใจต่อสถานการณ์และความคิดเห็นของพนักงานทุกคน ยังช่วยให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดจนเพิ่มคะแนนความผูกพันต่อองค์กร ลดอัตราการการลาออก และดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยก

แนวทางการบริหารจัดการ

เซ็นทรัล รีเทล มุ่งมั่นในเรื่องความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยก โดยได้กำหนดไว้ในนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของเซ็นทรัล รีเทล และแสดงออกความปฏิบัติต่อพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุของเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ อายุ สีผิว ศาสนา ความคิดเห็น สภาพร่างกาย สถานะทางสังคมหรือครอบครัว หรือแม้แต่เกียรติยศใด ๆ นอกจากนี้ นโยบายสิทธิมนุษยชนยังเน้นยํ้าในการดําเนินการป้องกันและคุ้มครองพนักงานทุกระดับไม่ให้ถูกกลั่นแกล้งคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ ในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการคุกคามทางเพศและไม่ใช่การคุกคามทางเพศ โดยหากมีเหตุเกิดขึ้น ต้องมีการสืบสวนที่เป็นธรรมสำหรับทุกฝ่าย เนื่องจากเซ็นทรัล รีเทล ให้ความสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน จึงกำหนดให้คณะกรรมการด้านสวัสดิการประกอบไปด้วยตัวแทนจากฝ่ายพนักงานทุกคน เพื่อให้มีพลังขับเคลื่อนการเจรจาต่อรองและประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่

เซ็นทรัล รีเทล ได้ทบทวนค่านิยมหลักขององค์กร “I-CARE” เพื่อให้มั่นใจว่าค่านิยมดังกล่าวสะท้อนวัฒนธรรมองค์กรที่ช่วยส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเป้าหมายร่วมกันในสภาพแวดล้อมธุรกิจปัจจุบัน โครงการ I-CARE ครอบคลุมกิจกรรมหลายประเภท ได้แก่ 1) ปลูกฝัง + ขยายผลค่านิยมหลักขององค์กรสู่นโยบายและกลยุทธ์ธุรกิจ 2) บ่มเพาะ + สร้างความชำนาญเพื่อพัฒนาโครงการสร้างเสริมศักยภาพพนักงาน และ 3) เพิ่มการตระหนักรู้ + ความเข้าใจเพื่อบูรณาการความหลากหลาย ความเสมอภาค และการอยู่ร่วมกันสู่กระบวนการทำงาน

นวัตกรรม
สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ปรับใช้เทคโนโลยี
ลูกค้า
ใส่ใจลูกค้า ส่งมอบคุณค่าด้วยบริการเป็นเลิศ
พันธมิตร
ทำงานมุ่งมั่น ร่วมกันเป็นหนึ่ง
ความสัมพันธ์
เปิดกว้าง เปิดใจ ใส่ใจกันและกัน
จรรยาบรรณ
รักษาจรรยาบรรณ ชื่นชมคนทำดี

ที่สำคัญ เซ็นทรัล รีเทล ยังพัฒนาโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ การอนุญาตให้ลาเลี้ยงบุตรหลังคลอดทั้งมารดาและบิดา หรือการจ่ายเงินบำเหน็จ ทั้งนี้ ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ได้สำรวจความคิดเห็นของพนักงานเป็นประจำทุกปี เพื่อติดตามและวัดผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นยังสามารถนำไปช่วยการวางแผนเชิงกลยุทธ์และปรับปรุงข้อบกพร่อง เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันได้อย่างดี ท่ามกลางความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยกในองค์กร

โครงการสำคัญ

CRC Women Series

เซ็นทรัล รีเทล เปิดตัวซีรีส์สตรี CRC เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนศักยภาพของผู้หญิงในที่ทำงาน เพื่อบอกเล่าเรื่องราวและประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจของพนักงานหญิงที่ทำงานกับเซ็นทรัล รีเทล ให้เพื่อนพนักงานด้วยกันทราบผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อีเมล และประกาศตามกระดานข่าว สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเซ็นทรัล รีเทล ที่จะให้ความสำคัญและพื้นที่ในการส่งเสริมพนักงานผู้หญิง โดยในปี 2566 โครงการซีรีส์สตรี CRC ได้บอกเล่าเรื่องราวที่เปี่ยมแรงบันดาลใจของพนักงานหญิง 15 คน

โครงการวัยเก๋าหัวใจแกร่ง

เซ็นทรัล รีเทล ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงวัยและมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนประชากรผู้สูงวัย เซ็นทรัล รีเทล จึงริเริ่มโครงการจ้างงานผู้สูงวัย โดยการให้โอกาสผู้สูงวัยกลับมาทำงานถือเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับคนกลุ่มนี้ด้วย รวมถึงยังช่วยทำให้คนที่มีแนวคิดเหมารวม (Stereotypes) เกี่ยวกับความสูงวัยในที่ทำงานได้ทบทวนความคิดเหล่านี้อีกครั้ง โปรแกรม จึงเน้นยํ้าความเชื่อในคุณค่าและความสามารถของบุคคลในทุกช่วงวัย และเคารพต่อความหลากหลายในที่ทำงาน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของประชากรผู้สูงวัย

การจ้างงานคนพิการ

เซ็นทรัล รีเทล ได้มุ่งมั่นในการสนับสนุนการจ้างงานผู้พิการมาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดตั้งศูนย์บริการของเพาเวอร์บายและไทวัสดุ เพื่อสนับสนุนการจ้างงานผู้พิการและมอบโอกาสที่มีความหมายมากกว่าการจ้างงานมาอย่างต่อเนื่องหลายปี

ทั้งนี้ ศูนย์บริการได้ทำหน้าที่เสริมศักยภาพและสนับสนุนผู้พิการที่เข้ามาร่วมงานกับเซ็นทรัล รีเทล ผ่านการจัดอบรมพิเศษเฉพาะให้แก่ผู้พิการ เพื่อให้พนักงานได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อประสบความสำเร็จในอาชีพอย่างมั่นคงด้วย โดยปัจจุบัน มีพนักงานประจำที่เป็นผู้พิการกว่า 80 คน ทั้งนี้ ความมุ่งมั่นที่จะดูแลผู้พิการของเซ็นทรัล รีเทล ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของแนวทางส่งเสริมความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันในองค์กร ช่วยลดอุปสรรคและปรับเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความสามารถของผู้พิการ ด้วยความมุ่งมั่นดังกล่าว เซ็นทรัล รีเทล มิเพียงได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม หากแต่ยังได้ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรให้มีทักษะและประสบการณ์ที่หลากหลายด้วย

Life at CRV – เชื่อมต่อวัฒนธรรมเพื่อความหลากหลายและความยืดหยุ่นในการทำงาน

‘Life at CRV’ เป็นซีรีส์ประเภทคลิปวีดิทัศน์ที่เปิดตัวในปี 2566 เพื่อถ่ายทอดให้เห็นถึงเบื้องลึกของชีวิตประจำวันและวัฒนธรรมการทำงานที่หน่วยงานของเซ็นทรัล รีเทล ในประเทศเวียดนาม เมืองโฮจิมินห์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตซีรีส์ เพื่อเชื่อมโยงวัฒนธรรมและการดำเนินงานระหว่างพนักงานในไทยและเวียดนาม ทั้งนี้ เซ็นทรัล รีเทล มุ่งสร้างความยืดหยุ่นในการโยกย้ายตำแหน่งภายในองค์กรเพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีประสบการณ์และมุมมองที่หลากหลาย

การทำงานจากบ้านและตารางเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น

เซ็นทรัล รีเทล ให้พนักงานสามารถเลือกทำงานจากบ้านได้สัปดาห์ละ 1 วัน ตามความเหมาะสม โดยนโยบายนี้สนับสนุนให้พนักงานประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาทำงาน นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังเสนอตารางเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นให้แก่พนักงานบางหน่วยงาน เพื่อให้ชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวมีความสมดุลยิ่งขึ้น โดยพนักงานสามารถเลือกตารางเวลาทำงานจาก 1 ใน 5 รูปแบบที่กำหนด นโยบายเหล่านี้ได้ออกแบบเพื่อช่วยลดความเครียดจากการทำงานและเพิ่มความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน

8.00 – 17.30
8.30 – 18.00
9.00 – 18.30
9.30 – 19.00
10.00 – 19.30

สิทธิประโยชน์สำหรับครอบครัว

  • ห้องป้อนนมบุตร เซ็นทรัล รีเทล จัดให้มีห้องป้อนนมบุตรในสถานที่ทำงานหลายแห่งเพื่อช่วยให้พนักงานสร้างสมดุลระหว่างการดูแลบุตรและภาระงานที่เซ็นทรัล รีเทล ได้ดีขึ้น
  • ศูนย์ดูแลเด็ก เซ็นทรัล รีเทล จัดให้มีศูนย์ดูแลเด็กที่ครบครันไปด้วยของเล่นและพื้นที่เล่นสนุกสำหรับเด็ก ๆ เพื่อช่วยให้บุตรของพนักงานได้มีพัฒนาการอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ บริการดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้พนักงานได้ใช้เวลากับบุตรมากขึ้น แม้แต่ในช่วงเวลาทำงาน
  • ทุนการศึกษา เซ็นทรัล รีเทล ให้ทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงานที่ทำงานกับเซ็นทรัล รีเทล มาแล้วไม่ตํ่ากว่า 3 ปีและมีอัตราเงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขว่าผู้รับทุนต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ตํ่ากว่า 2.5 และมีความประพฤติที่ดีด้วย ในปี 2566 เซ็นทรัล รีเทล ได้มอบทุนให้แก่บุตรของพนักงานจำนวนทั้งสิ้น 1,548 ทุน มูลค่ารวม 10 ล้านบาท
  • ลาเลี้ยงดูบุตร เซ็นทรัล รีเทล อนุญาตให้พนักงานลาเลี้ยงดูบุตรได้ถึง 45 วันในกรณีเป็นผู้เลี้ยงหลักและลาเลี้ยงดูบุตรได้ 3 วันในกรณีเป็นผู้เลี้ยงเสริม นับเป็นนโยบายที่ช่วยรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรและสนับสนุนพนักงานในช่วงเวลาสำคัญของชีวิต

โปรแกรมด้านกีฬาและสุขภาพ

  • ฟิตเนสและสถานที่ออกกำลังกาย เซ็นทรัล รีเทล จัดให้ทุกสถานที่ทำงานของเซ็นทรัล รีเทล มีสถานที่ออกกำลังกายสำหรับพนักงาน โดยแต่ละแห่งครบครันไปด้วยอุปกรณ์ออกกำลังกายที่ทันสมัย พร้อมตอบสนองความต้องการในการออกกำลังกายหลายระดับและตามแต่ความชื่นชอบของแต่ละบุคคล นโยบายนี้เน้นให้พนักงานเข้าถึงสถานที่ออกกำลังกายได้สะดวกเพื่อให้ได้ออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอ
  • ชั้นเรียนกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เซ็นทรัล รีเทล จัดชั้นเรียนกิจกรรมดูแลสุขภาพของพนักงานทั้งกายและใจ เช่น ชั้นเรียนโยคะและซุมบ้า
  • กีฬา CRC League & Central Group I-CARE Games 2566 ในปี 2566 เซ็นทรัล รีเทล ริเริ่มจัดงาน CRC League หรืองานแข่งกีฬาระดับกลุ่ม โดยมี 8 ทีมจาก 15 หน่วยธุรกิจเข้าร่วมแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล ฟุตบอล บาสเกตบอล แบดมินตันและปิงปอง ก่อนที่ CRC League จะนำไปสู่งาน Central Group I-CARE Games 2566 ที่มีครบทั้งการแข่งกีฬา เดินพาเหรด กิจกรรมเชียร์ และกิจกรรมนันทนาการอื่น ๆ ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของพนักงาน และส่งเสริมความหลากหลายและการอยู่ร่วมกัน พนักงานที่พบว่าตนเองมีความสนใจตรงกันในระหว่างงานยังสามารถจับกลุ่มเพื่อเล่นกีฬาด้วยกันเองในภายหลังด้วย ถือเป็นการส่งเสริมการสื่อสารและการกระชับความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 มีพนักงานเข้าร่วมงาน CRC League และ Central Group I-CARE Games มากกว่า 1,200 คน

โครงการเพื่อสุขภาพจิตที่ดีและการรับมือกับความเครียด

เซ็นทรัล รีเทล ร่วมมือกับ iSTRONG ซึ่งเป็นเซ็นทรัล รีเทลเอกชนผู้ให้คำปรึกษาและบริการด้านการดูแลสุขภาพจิต และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านเหล่านี้

iSTRONG เพื่อสุขภาพจิต

Financial Well-Being

พนักงานของเซ็นทรัล รีเทล มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานห้างเซ็นทรัล ซึ่งก่อตั้งและเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2519 ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมชีวิตทางการเงินและเศรษฐกิจที่ดี ปัจจุบัน สหกรณ์ฯ มีสมาชิกมากถึง 7,114 รายและให้สิทธิประโยชน์ทางการเงินหลายด้านแก่สมาชิกเพื่อสนับสนุนให้สมาชิกมีความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว

  • บัญชีออมทรัพย์ของสหกรณ์ฯ ให้ดอกเบี้ยสูงแก่พนักงานทุกราย แต่จะให้ดอกเบี้ยสูงเป็นพิเศษแก่พนักงานที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปเพื่อสนับสนุนให้คนกลุ่มนี้มีเงินสะสมมากพอสำหรับชีวิตหลังเกษียณ
  • บริการเงินกู้และเงินกู้ยืมทางการศึกษาดอกเบี้ยตํ่า แก่พนักงาน คู่สมรส และบุตร เพื่อรองรับความจำเป็นต้องใช้เงินด่วนหรือสนับสนุนเป้าหมายทางการศึกษาในระยะยาว
  • สิทธิประโยชน์ทางการเงินอื่น ๆ แก่พนักงาน เช่น เงินช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เงินช่วยเหลือจัดงานศพ หรือเงินรับขวัญบุตรหลังคลอด

โครงการพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของเซ็นทรัล รีเทล ในการบ่มเพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูงเพื่อเป็นผู้นำองค์กรรุ่นต่อไป โดยคนกลุ่มนี้มีความแตกต่างหลากหลายในด้านภูมิหลัง แต่ยึดมั่นในแนวทางการทำงานที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง สนับสนุนแนวทางแบบ Omnichannel และเห็นด้วยกับแนวคิดด้านความยั่งยืนเหมือนกัน โครงการดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูง จึงมีเนื้อหาครอบคลุมการทำงานแบบเข้มข้นเน้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้งานหลักในทุกๆ ด้านภายในสายงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย พนักงานในโครงการนี้จึงมีโอกาสได้รับความก้าวหน้าทางอาชีพที่เร็วกว่าระบบปกติเพื่อขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำองค์กร ทั้งนี้ โครงการผู้ร่วมบริหารเซ็นทรัล รีเทล สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรที่ประสงค์จะสร้างช่องทางให้ผู้บริหารระดับกลางมีความรู้อย่างรอบด้าน

โครงการพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต ครอบคลุมถึงองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับผู้บริหาร เช่น ความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยี การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย รูปแบบโครงการมีจุดยืนที่โดดเด่นและเหมาะกับคนวัย Generation Z เป็นพิเศษเพราะสอดคล้องกับความมุ่ความใฝ่ฝันในชีวิตและค่านิยมที่กลุ่มคนในช่วงวัยดังกล่าวให้ความสำคัญ เนื่องจากโครงการพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต ให้ความคิดเห็นและคำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างทันทีและสมํ่าเสมอ จึงทำให้พนักงานกลุ่มนี้ได้เรียนรู้วัฒนธรรมแห่งการเปิดกว้างและไม่แบ่งแยกไปด้วย จึงหวังได้ว่าพนักงานกลุ่มนี้จะน้อมนำวัฒนธรรมนี้ไปปฏิบัติต่อไปเมื่อพวกเขาได้เป็นผู้นำองค์กรในอนาคต ในปี 2566 มีพนักงานเข้าร่วมโครงการนี้ 16 คน

เซ็นทรัล รีเทล จัดทำโครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีมาตั้งแต่ปี 2555 โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับทุนการศึกษาสำหรับศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวช.) และปริญญาตรี เป้าหมายของโครงการคือ การผลิตบุคลากรในสายงานที่เซ็นทรัล รีเทล ต้องการ และผู้เข้าร่วมโครงการมีโอกาสจะได้เข้าร่วมงานกับเซ็นทรัล รีเทล ในระหว่างปี 2555 ถึงปี 2566 มีนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการดังกล่าวกว่า 5,000 คน และ 2,578 คนได้กลายมาเป็นพนักงานของเซ็นทรัล รีเทล

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

สัดส่วนของพนักงานหญิง (ร้อยละ)

พนักงานทั้งหมด
ร้อยละ 62
ระดับบริหารและสูงกว่า
ร้อยละ 55
ผู้บริหารระดับสูง
ร้อยละ 37
ผู้บริหารระดับกลาง
ร้อยละ 53
พนักงานอาวุโสและผู้บริหารระดับต้น
ร้อยละ 56
พนักงานทั่วไป
ร้อยละ 62
ผู้บริหารในสายงานที่ก่อรายได้ เช่น ฝ่ายขาย การตลาด การผลิต และพัฒนาธุรกิจ
ร้อยละ 58
พนักงานในสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์
ร้อยละ 43
อายุ (ร้อยละ)
พนักงานทั้งหมด (ร้อยละ)
หมายเหตุ:
  1. นิยามที่ใช้กับ "สถานที่ประกอบการที่มีนัยสำคัญ" ของเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น
  2. ND หมายถึงไม่มีข้อมูล
พนักงานที่เป็นผู้พิการ
429
ร้อยละ 1 ของพนักงานทั้งหมดของประเทศไทย โดยจ้างงานครบตามที่กฎหมายกำหนด
อัตราการลาออก ปี 2566
อัตราการลาออก
39.50
อัตราการลาออกโดยสมัครใจ
37.47
พนักงานที่เป็นสมาชิก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ร้อยละ)
ความผูกพันของพนักงานต่อบริษัทฯ* (ร้อยละ)
หมายเหตุ:

*บริษัทฯ สำรวจความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรเป็นประจำทุกปี โดยแบบสอบถามใช้มาตรวัดลิเคิร์ท 7 ระดับ

เรื่องราวของเรา