การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

เซ็นทรัล รีเทล เคารพในสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า และโดยมีการดำเนินธุรกิจ และแนวปฏิบัติด้านแรงงานต่างๆ ที่สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ และการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายสิทธิมนุษยชนของเซ็นทรัล รีเทล เน้นย้ำถึงการต่อต้านการเลือกปฏิบัติและการคุกคาม และมุ่งมั่นที่จะปกป้องพนักงานทุกระดับจากการเลือกปฏิบัติ การขู่เข็ญ และการคุกคามในทุกรูปแบบ เพื่อส่งเสริมองค์กรที่มีความหลากหลายและเกื้อกูลกัน

ความเสี่ยงของการละเมิดสิทธิมนุษยชนมีความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะบริบทเฉพาะที่เกิดจากมิติทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ดังนั้น การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนทั้งที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจเกิดขึ้นควรเป็นการดำเนินการเชิงรุกและครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด รวมถึงมาตรการแก้ไขและการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในระดับสากล

เป้าหมาย

ร้อยละ 100

ของพนักงานและผู้รับเหมาได้รับการอบรมด้านสิทธิมนุษยชน

ร้อยละ 100

ของพนักงานได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

ร้อยละ 10

ของคู่ค้าได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ภายในปี 2567

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผู้มีส่วนได้เสีย และสิทธิมนุษยชน

การปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และหลักปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าถือเป็นเรื่องจำเป็น เนื่องจากจะช่วยป้องกันและหลีกเลี่ยงการละเมิด การดำเนินคดี อุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ การนำเสนอข่าวในแง่ลบโดยสื่อมวลชน และการสูญเสียความไว้วางใจจากลูกค้าและนักลงทุน การรักษามาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนสามารถช่วยลดความเสี่ยง รักษาความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย และปกป้องชื่อเสียงขององค์กร สถานที่ทำงานใดที่มีการเคารพสิทธิมนุษยชน ก็จะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรในเรื่องความเป็นธรรมและ ความเท่าเทียม

สร้างแรงจูงใจให้พนักงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และความคิดสร้างสรรค์ และช่วยลดอัตราการลาออกของพนักงานด้วย นอกจากนี้ การมีคู่ค้ามีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนจะช่วยให้เซ็นทรัล รีเทล และคู่ค้าสามารถบรรลุเป้าหมายร่วมด้านสิทธิมนุษยชน เพิ่มความมั่นใจของลูกค้าในคุณภาพของสินค้าและบริการ ส่งเสริมให้มีการเติบโตที่ยั่งยืน และได้รับความไว้วางใจผู้ถือหุ้นและนักลงทุน

แนวทางการบริหารจัดการ

โครงสร้างการกำกับดูแลสิทธิมนุษยชน

นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของ เซ็นทรัล รีเทล ได้รับการกำหนดให้สอดคล้องกับหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วย ธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่ง (UN Guiding Principle on Business and Human Rights: UNGPs) โดยครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานและจัดการกับประเด็นต่างๆ เช่น แรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก การจำกัดสิทธิในการรวมกลุ่มเพื่อการเจรจาต่อรอง การจ่ายค่าตอบแทนอย่างไม่เป็นธรรม และการเลือกปฏิบัติและการคุมคามในทุกรูปแบบ โดยในระดับบริหาร คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน มีหน้าที่กำกับดูแลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (HRRA) และการตรวจสอบสถานะด้านสิทธิมนุษยชน (HRDD) ตลอดจนทบทวนและรับรองนโยบายสิทธิมนุษยชนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง การจัดการสิทธิมนุษยชนขององค์กรต้องใช้ความพยายามร่วมกันระหว่างฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายบริหารความเสี่ยง ฝ่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน และฝ่ายการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยเป็นการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยธุรกิจต่างๆ กันอย่างแข็งขัน วัฒนธรรมองค์กรของบริษัทฯ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ห้ามไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติและการคุกคามในทุกรูปแบบอย่างชัดเจน และสื่อสารหลักการดังกล่าวผ่านโครงการฝึกอบรมต่างๆ

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (HRRA) และการตรวจสอบสถานะ (HRDD)

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (HRRA) ดำเนินการทุกๆ สองปี เพื่อติดตาม ระบุ จัดลำดับความสำคัญ บรรเทา และแก้ไขความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ กระบวนการนี้ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจที่มีอยู่ของ เซ็นทรัล รีเทล รวมถึงการดำเนินธุรกิจใหม่ที่เกิดจากการเติบโตทางธุรกิจ การควบรวมและซื้อกิจการ และกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพันธมิตรทางธุรกิจ ผู้รับเหมา คู่ค้า และการร่วมทุนในห่วงโซ่คุณค่า

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ครอบคลุมโดย HRRA ได้แก่ พนักงาน ชุมชน คู่ค้า ผู้รับเหมา ลูกค้า แรงงานที่จัดหามา พนักงานที่ได้รับการว่าจ้างจากบุคคลที่สาม แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิง เด็ก ชนเผ่าพื้นเมือง แรงงานข้ามชาติ ผู้พิการ และบุคคล LGBTQI+ โดย HRRA ประเมินประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ซึ่งรวมถึงแรงงานบังคับ แรงงานเด็ก สภาพการทำงาน และแนวปฏิบัติด้านแรงงาน เสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรองร่วม เสรีภาพในการแสดงออก การค้ามนุษย์ ค่าชดเชยที่เท่าเทียมกัน โอกาสที่เท่าเทียมกันและการเลือกปฏิบัติ สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน การเข้าถึงการเยียวยา การละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน และการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

เมื่อเริ่มกระบวนการ HRRA เซ็นทรัล รีเทล ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเข้มข้น เพื่อให้มั่นใจว่าแนวคิดการเคารพสิทธิมนุษยชนจะถูกบูรณาการเข้ากับการดำเนินธุรกิจ สิ่งนี้ช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการ HRRA ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านสิทธิมนุษยชน (HRDD) โดยระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจเกิดขึ้น และกำหนดว่าผลกระทบมีในระดับใด เซ็นทรัล รีเทล ริเริ่มโครงการ HRDD ในปี 2565 และตั้งแต่นั้นมาก็ได้ติดตามความเสี่ยงที่ได้ระบุไว้เป็นประจำทุกไตรมาส ในธุรกิจทั้ง 5 ประเภท ได้แก่ Food Fashion Hardline Property และ Health and Wellness นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังให้ความสำคัญกับการจัดลำดับความสำคัญของ HRDD สำหรับคู่ค้าระดับ Tier 1 อีกด้วย

เซ็นทรัล รีเทล ติดตามผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง กรณีที่มีการแจ้งมา และการดำเนินการบรรเทาและแก้ไข โดยมีการชดเชยทั้งทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงิน ในปี 2566 เซ็นทรัล รีเทล ได้ระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และได้ดำเนินการบรรเทาและแก้ไขครอบคลุมการดำเนินงานทั้งหมด ร้อยละ 100 กระบวนการจัดการด้านสิทธิมนุษยชนของ บริษัทฯ ยังได้รับการสื่อสารและเปิดเผยต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอกเพื่อความโปร่งใส นอกจากนี้ เซ็นทรัล รีเทล ยังดำเนินโครงการสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ได้แก่

  • การใช้ช่องทางการสื่อสารภายในให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
  • การดำเนินการฝึกอบรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านสิทธิมนุษยชน (HRDD)
  • การจัดทำแนวทางการดำเนินการแก้ไขและมาตรการเยียวยาในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • การติดตามประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างใกล้ชิด โดยไม่มีประเด็นสำคัญที่เกิดจากความเสี่ยงที่ระบุในปีที่ผ่านมา

ช่องทางการแจ้งเบาะแสการละเมิดสิทธิมนุษยชน

เซ็นทรัล รีเทล ได้กำหนดช่องทางการแจ้งเบาะแสในการแจ้งเบาะแสการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนี้

ช่องทางการแจ้งเบาะแสการละเมิดสิทธิมนุษยชน

1)

แจ้งผ่านช่องทางอีเมลที่ CRCWhistleblower@central.co.th หรือไปรษณีย์

หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 22 ซอยสมคิด ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
2)

ในกรณีผู้ร้องเรียนมีข้อเรียกร้องประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ให้ส่งเรื่องร้องเรียนมายังประธานกรรมการตรวจสอบโดยตรงผ่านช่องทางอีเมลของประธานกรรมการตรวจสอบที่ AuditChairman@central.co.th หรือไปรษณีย์

ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 22 ซอยสมคิด ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

เซ็นทรัล รีเทล ได้จัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการเพื่อส่งเสริมให้พนักงานพูดคุย เจรจา หรือหารือเกี่ยวกับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อย่างเปิดเผย ในปี 2566 พนักงานร้อยละ 100 ได้รับการคุ้มครองจากคณะกรรมการสวัสดิการ

นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
ระเบียบปฎิบัติด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับแรงงาน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
คู่มือการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

โครงการสำคัญ

การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและโครงการการพัฒนาที่ยั่งยืน

เซ็นทรัล รีเทล จัดฝึกอบรมให้กับพนักงานเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ในเรื่อง ESG ครอบคลุมเรื่องสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่อุปทาน การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และกรอบการทำงาน ESG ในปี 2566 มีการจัดฝึกอบรม 5 ครั้ง โดยมีพนักงาน 74 คนและคู่ค้า 152 ราย เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

ช่องทางการสื่อสารภายใน

ช่องทางการสื่อสารภายในมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้พื้นฐานและสร้างความตระหนักรู้แก่พนักงานในหัวข้อต่าง ๆ เช่น สิทธิมนุษยชน การเลือกปฏิบัติและการคุกคาม รวมถึงความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกในสถานที่ทำงาน โดยโปรแกรมนี้ใช้ช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น อีเมล โปสเตอร์ ป้าย และวิดีโอ เพื่อสื่อสารกับพนักงาน ในปี 2566 มีการแชร์บทความมากกว่า 10 บทความ โดยได้รับการตอบรับเชิงบวกจากพนักงานว่าเป็นการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและการเคารพในความแตกต่างระหว่างกัน

รางวัลด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2566

เซ็นทรัล รีเทล ได้รับรางวัลดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี 2566 (ประเภทบริษัทขนาดใหญ่) จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม รางวัลนี้ยกย่องความมุ่งมั่นของ เซ็นทรัล รีเทล ในด้านความเท่าเทียมทางสังคม การกำกับดูแล และความยั่งยืน โดยมีการเล็งเห็นความพยายามของบริษัทฯ ในการสร้างความเป็นอยู่ด้านสังคมให้ดีขนและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน อันจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจต่อเนื่องให้ผู้คนพยายามสร้างผลกระทบต่อสังคมที่ยั่งยืนต่อไป

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

การดำเนินกิจกรรมของบริษัทและการร่วมค้า ที่บริษัทมีอำนาจควบคุมการจัดการ

ของ FTE ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ของ FTE มีความเสี่ยงสูงสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน
ของ FTE ถูกระบุว่ามีความเสี่ยง มีมาตรการบรรเทาผลกระทบและการดำเนินการแก้ไข
รายงานการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

เรื่องราวของเรา